ถิ่นกำเนิดของขนุนอยู่ที่ประเทศอินเดีย จากนั้นได้แพร่หลายไปบนผืนแผ่นดินเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยกระบวนการค้าที่ติดต่อแลกเปลี่ยนสินค้ากันในแถบนี้ขนุนได้รับควานิยมอย่างมากโดยเฉพาะในแหลมมลายูได้ชื่อว่า แจ็กฟรุต

ขนุนไม่ได้เป็นผลไม้พื้นเมืองของไทยแต่ก็ไม่ปรากฎหลักฐานใดที่จะอ้างอิงได้ว่าใครนำขนุนเข้าปลูกเมื่อไหร่หรืออย่างไร คนไทยนิยมปลูกขนุนไว้ตามบ้าน เพราะเชื่อว่า “ขนุน” เป็นนามมงคล ปลูกไว้ในบ้านไหน ก็จะให้ความเป็นสิริมงคลทำให้บ้านนั้นได้รับการเกื้อกูล หนุนเนื่องให้รุ่งเรืองในชีวิตและอาชีพการงาน

ขนุนมีหลายพันธุ์หลายสี หลายเนื้อและหลายระดับความหวานซังขนุนบางผลจะหวานหอมเช่นเดียวกับยวงนำมากินได้เช่นเดียวกับเนื้อขนุน แต่ซังขนุนส่วนมากมักเหนียว รสหวานจือซืด จึงถูกทิ้ง ขนุนมีหลายขนาด ขนาดใหญ่หนักถึง 40 กิโลกรับ นับเป็นผลไม้ผลใหญ่ที่สุดในบรรดาผลไม้ทั้งหลายทั้งปวงในโลก ขนุนมีมากมายหลายพันธุ์ เช่น พันธุ์ขุนวิชาญ อีถ่อ แม่น้อยทะวาย และละแม เป็นต้นขนุนที่นิยมปลูกมีดังต่อไปนี้

ขนุนที่นิยมปลูกมีดังต่อไปนี้

1.พันธุ์ตาบ๊วย เนื้อสีจำปาออกส้มเหลือง ผลขนาดใหญ่เนื้อหนา หวานกรอบ

2.พันธุ์ฟ้าถล่ม ขนาดใหญ่หนักถึง 20-30 กิโลกรับ ลูกค่อนข้างกลม เนื้อหนา สีเหลืองทอง รสหวานสนิท

3.พันธุ์ทองสุดใจ ผลขนาดใหญ่ มีน้ำหนักถึง 25 กิโลกรัม รูปร่างยาว เนื้อสีเหลือง แห้งกรอบ รสหวานปานกลางไม่หวานจัดเท่าฟ้าถล่ม

4.พันธุ์จำปากรอบ เนื้อสีจำปา เนื้อไม่หนาเท่าไร รสหวานอมเปรี้ยวนิด ๆ ผลมีขนาดกลาง น้ำหนัก 15-18 กิโลกรัม

เนื้อขนุนสุกเป็นเครื่องชูกลิ่นชูรสขนมหวานอื่นๆ ได้ดี เช่น ฉีกใส่ไอศกรีมกะทิสด ลอดช่องสิงคโปร์ รวมมิตรหวานเย็น และใส่ในน้ำเชื่อม จะได้ทั้งกลิ่นและรสชาติอันเป็นเสน่ห์เฉพาะตัวของขนุน นอกจากนี้คนโบราณยังเอาขนุนไม่ทำเป็นหน้าข้าวเหนียวมุนเพือชูกลิ่นหอม มีรสหวานจัดเข้ากันได้ดีกับความมันเหนียวของข้าวเหนียวมูน

ขนุนสุกนำไปอบแห้งเป็นขนุนแห้งพร้อมกินเป็นของว่างคนอินโดนีเซียใช้ขนุนแห้งมารับแขกต่างชาติอย่างภาคภูมิใจในประเทศไทยมีขนุนอบแห้งบรรจุถุงออกมาขายอยุ่บ้าง แต่ไม่แพร่หลาย ส่วนขนุนอ่อนนำมาใช้เป็นผักปรุงอาหารได้

ข่าว : ต้นไม้ฟอกอากาศประจําวันเกิด

Related Posts

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *